ประเทศไทย : นักวิชาการสหรัฐฯ ถูกควบคุมตัวโดยพลการในข้อหาหมิ่นประมาทกษัตริย์

Compatibility
Save(0)
Share

สหพันธ์เพื่อสิทธิมนุษยชนสากล (International Federation for Human Rights - FIDH) และองค์กรสมาชิก ได้แก่ สมาคมสิทธิเสรีภาพของประชาชน (สสส.) และศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน (TLHR) ประณามการการจับกุบและความคุมตัวพอล แชมเบอร์ส นักวิชาการผู้มีชื่อเสียงจากประเทศสหรัฐอเมริกา และเรียกร้องให้ปล่อยตัวเขาโดยทันที่และอย่างไม่มีเงื่อนไข

กรุงเทพ, กรุงปารีส, 9 เมษายน 2568. ในตอนเช้าของวันที่ 8 เมษายน 2568 ตำรวจจังหวัดพิษณุโลกจับกุมพอล แชมเบอร์ส อาจารย์ประจำคณะสังคมศาสตร์ ที่มหาวิทยาลัยนเรศวร จังหวัดพิษณุโลก นายแชมเบอร์สเข้าไปรายงานตัวที่สถานีตำรวจพิษณุโลกโดยสมัครใจตามหมายจับที่ศาลจังหวัดพิษณุโลกออกเมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2568 ในข้อหาละเมิดมาตรา 112 ของประมวลกฎหมายอาญาประเทศไทย (หมิ่นประมาทกษัตริย์) และมาตรา 14(1) แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์

คำร้องขอประกันตัวสองฉบับที่ยื่นโดยนายแชมเบอร์สในวันเดียวกัน ถูกปฏิเสธโดยศาลจังหวัดพิษณุโลกทันที โดยระบุถึงความผิดที่มีอัตราโทษสูง การที่ผู้ต้องหาเป็นชาวต่างชาติ และการคัดค้านของตำรวจต่อคำร้องขอประกันตัวของนายแชมเบอร์ส เป็นเหตุผลในการปฏิเสธคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราว ปัจจุบัน พอล แชมเบอร์ส ถูกคุมขังระหว่างพิจารณาคดีในเรือนจำจังหวัดพิษณุโลก

การควบคุมตัวนายแชมเบอร์สอันเป็นที่น่าตกใจและเป็นไปโดยพลการ แสดงให้เห็นว่าการบังคับใช้มาตรา 112 ในทางที่มิชอบยังคงมีอยู่ในประเทศไทย เจ้าหน้าที่ไทยต้องยกเลิกข้อกล่าวหาทั้งหมดที่มีต่อนายแชมเบอร์ส ปล่อยตัวเขาโดยทันทีและไม่มีเงื่อนไข และประกันสิทธิในการแสดงออกตามกฎหมายสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศFatia Maulidiyanti รองประธาน FIDH กล่าว

ข้อกล่าวหาต่อนายแชมเบอร์สมีที่มาจากการแจ้งความโดยกองทัพภาคที่ 3 ของกองทัพไทย ซึ่งมีกองบัญชาการอยู่ในจังหวัดพิษณุโลก การแจ้งความดังกล่าวเกี่ยวข้องกับการเผยแพร่ข้อความแนะนำงานเสวนาออนไลน์บนเว็บไซต์ของสถาบันเอเชียอาคเนย์ศึกษา ยูซุฟ อิสฮัค (ISEAS - Yusof Ishak) ประเทศสิงคโปร์ เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม 2024 งานเสวนาออนไลน์ดังกล่าวมีหัวข้อว่า “การโยกย้ายกองทัพและตำรวจของประเทศไทยในปี 2567 : หมายความว่าอย่างไร ?” ซึ่งมีพอล แชมเบอร์สเป็นวิทยากร ข้อความแนะนำงานเสวนาออนไลน์ผ่านเว็บไซต์นั้นพูดถึงความเชื่อมโยงที่เป็นไปได้ระหว่างสถาบันกษัตริย์ไทยกับการแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ทหารและตำรวจระดับสูงประจำปี นายแชมเบอร์สยืนยันว่าเขาไม่ได้เขียนหรือเผยแพร่ข้อความแนะนำงานเสวนาออนไลน์ และเขาไม่ได้มีอำนาจจัดการเว็บไซต์ที่เผยแพร่คำอธิบายนั้น

นายแชมเบอร์สเป็นหนึ่งในบุคคล 31 ราย (ซี่งรวมถึงผู้หญิงสามราย) ที่ถูกคุมขังภายใต้มาตรา 112 ในขณะนี้ โดยที่ 12 ราย (ซึ่งรวมถึงผู้หญิงสามรายและผู้เยาว์หนึ่งราย) กำลังรับโทษจำคุก โดยที่โทษสูงสุดอยู่ที่ 54 ปี หลังจากถูกตัดสินว่ามีความผิดฐานหมิ่นประมาทกษัตริย์

ในเดือนมิถุนายน 2558 FIDH ได้เผยแพร่รายงานที่ชี้ให้เห็นว่ามาตรา 112 จำกัดการแสดงออกเชิงสร้างสรรค์เกี่ยวกับสถาบันกษัตริย์ไทยอย่างมาก และนำไปสู่การจำคุกศิลปินและนักเขียนหลายคน ซึ่งถือเป็นการละเมิดพันธกรณีของประเทศไทยภายใต้กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม (ICESCR) ประเทศไทยเป็นรัฐภาคีของ ICESCR

หลังจากการเผยแพร่รายงานของ FIDH คณะกรรมการว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (CESCR) แสดงความกังวลต่อ “ผลร้ายจากการตีความเกินไป” ของกฎหมายหมิ่นประมาทกษัตริย์ ต่อการใช้สิทธิของทุกคนสิทธิที่ของทุกคนที่จะได้เข้าร่วมในการแสดงออกทางวัฒนธรรม คณะกรรมการเสนอให้แก้ไขมาตรา 112 เพื่อให้ “มีความชัดเจนและไม่คลุมเครือเกี่ยวกับการกระทำที่ต้องห้าม และให้การลงโทษใดๆ จะต้องสมดุลอย่างเคร่งครัดกับความเสียหายที่เกิดขึ้น”

FIDH, UCL, และ TLHR เรียกร้องให้ทางการไทยปล่อยตัวพอล แชมเบอร์ โดยทันทีและไม่มีเงื่อนไข และยกเลิกข้อกล่าวหาทั้งหมดที่มีต่อเขาและบุคคลอื่นๆ ทั้งหมด รวมถึงนักปกป้องสิทธิมนุษยชน ซึ่งกำลังถูกคุมขังโดยพลการภายใต้มาตรา 112

นอกจากนี้ FIDH, UCL, และ TLHR ยังย้ำถึงข้อเรียกร้องให้แก้ไขมาตรา 112 เพื่อให้สอดคล้องกับบทบัญญัติของสนธิสัญญาสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศที่ประเทศไทยเป็นภาคี รวมถึงกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (ICCPR) และ ICESCR อีกด้วย

Contact details
Andrea GIORGETTA